“มังกรโคโมโด” สัตว์ประจำถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย ด้วยรูปร่างที่ใหญ่โตจนเกินกว่าจะเชื่อว่า มันคือสัตว์ตระกูลเดียวกับตะกวด หรือ ตัวเงินตัวทอง ทำให้ชาวประมงที่ออกสำรวจเกาะอันห่างไกลในอินโดนีเซียเรียกพวกมันว่า KOMODO DRAGONS หรือ มังกรแห่งเกาะโคโมโด และนี่คือเรื่องจริงเกี่ยวกับเจ้ามังกรเดินดินที่ใครหลายคนไม่เคยรู้มาก่อน บอกเลยว่า จะทำให้คุณต้องขนลุกเลยทีเดียว คาสิโนออนไลน์ 1688
- เป็นกิ้งก่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
บอกเลยว่า ด้วยขนาดตัวที่สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 3 เมตร หากย้อนกลับไปทำความรู้จักกับบรรพบุรุษของเจ้าโคโมโดนี้ ทุกคนจะพบกับ Megalania นี่คือ ต้นตระกูลของมันที่มีขนาดยาวถึง 9 เมตร ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย และมีซากฟอสซิลที่คล้ายคลึงกับเจ้าโคโมโดมากๆ ด้วย แต่เสียดายที่สูญพันธุ์ไปจากโลก เมื่อ 19,000 ปีที่ผ่านมานี้เอง
- อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร
ด้วยสภาพแวดล้อมโดยรอบที่เป็นเกาะ และเต็มไปด้วย กวาง หมูป่า สัตว์เลี้ยงของมนุษย์ และรวมทั้งตัวมนุษย์เองด้วย ทำให้พวกเหล่ามังกรโคโมโดเหล่านี้ สามารถเลือกเหยื่อได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องกังวลว่า จะมีตัวอะไรมากินมันอีกทอดหนึ่ง นอกจากพวกเดียวกันเองเท่านั้น แถมพฤติกรรมในการกินยังถือว่า แย่มากๆ เพราะมันจะกัดและฉีกกระชาก ทำให้สภาพของเหยื่อไม่เหลือชิ้นดีเลย แต่ไม่ต้องห่วงว่า พวกมันจะทำผืนป่าเลอะเทอะนะ เพราะแม้แต่กระดูก เขา กีบเท้า หรือ ส่วนที่ไม่คิดว่า จะมีตัวอะไรมากินได้ เจ้ามังกรพวกนี้จะกลืนชิ้นส่วนเหล่านั้นเข้าไปทั้งหมด น่ากลัวซะไม่มี!!
- ประชากรอยู่ในขั้นวิกฤติแล้ว
ถึงแม้ว่า พวกมันจะเป็นนักล่าชั้นบนสุด และมีอาหารให้เลือกกินมากมาย แต่ด้วยความที่มีถิ่นอาศัยในพื้นที่จำกัดเฉพาะบนเกาะโคโมโดเท่านั้น ทำให้พวกมันมีประชากรเพียงแค่ 4,000-5,000 ตัวเท่านั้น และด้วยอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น ทำให้เจ้ามังกรเหล่านี้มีปัญหาในเรื่องการกำหนดเพศ และทำให้พวกมันมีตัวเมียที่สามารถขยายพันธุ์ได้เพียง 350 ตัวเท่านั้น แถมพวกมันยังมีขนาดตัวที่เล็กลงกว่าเดิมอีกด้วย ทำให้ทางการประเทศอินโดนีเซียต้องหันกลับมาดูแล และคุ้มครองสายพันธุ์สัตว์ท้องถิ่นชนิดนี้อย่างเร่งด่วนเลย
- รอยกัดมรณะ
เชื่อเลยว่าหลายคนอาจคิดว่า มังกรโคโมโดนั้นมีพิษ ซึ่งในความจริงแล้ว พวกมันไม่มีพิษเลยแม้แต่น้อย แต่น้ำลายของพวกมันที่เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากเศษของเสียในช่องปากของพวกมันนั่นเอง ที่จะทำให้เหยื่อเกิดอาการติดเชื้อในกระแสเลือด และปากแผลเน่าเปื่อยจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งนี่เอง คือ เคล็ดลับในการล้มเหยื่อตัวโตๆ ของเจ้ามังกรพวกนี้ก็ได้
- นักวิ่งสุดทรหด
เจ้าพวกนี้มีระบบหายใจที่สามารถเก็บอากาศไว้ในช่องคอ ก่อนดันเข้าสู่ปอดในปริมาณมากๆ ทำให้พวกมันเป็นนักวิ่งมาราธอนที่อึดมากๆ เพราะถ้าคุณไม่ใช่นักวิ่งทางไกล แต่คิดจะวิ่งแข่งกับเจ้ามังกรล่ะก็ ต้องมั่นใจก่อนว่า ในระยะ 400 เมตรแรกนั้น จะมีต้นไม้ให้คุณปีนหนี ไม่เช่นนั้นคุณเสร็จมันแน่!! อย่าหาว่าเราไม่เตือนนะ
- พวกมัน คือ นักล่ามนุษย์
ถึงแม้ว่า พวกมันจะไม่นิยมโจมตีมนุษย์สักเท่าไหร่ก็ตาม แต่ด้วยความที่มันก็ไม่ได้เกรงกลัวมนุษย์มาก แถมมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนเกาะโคโมโดยังค่อนข้างจะกลัวพวกมันเสียด้วย ทำให้มีข่าวออกมาให้ได้เรายินบ่อยๆ ว่า พวกเจ้ามังกรโจมตีชนพื้นเมือง และนักท่องเที่ยวที่ไม่ระวังตัวเอง เพราะเดินเข้าไปแหย่มันเล่น ก่อนจะพบว่า กลายเป็นซากถูกแทะในอีกไม่กี่วันถัดมา
- กระเพาะพลังงานแสงอาทิตย์
เจ้าพวกมังกรก็เป็นเช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานทั่วไป ที่ต้องการความร้อน เพื่อช่วยย่อยอาหารอย่างมาก และมันมีสิทธิ์ตาย เพราะอาการอาหารไม่ย่อย เนื่องจากอากาศเย็นได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นบนเกาะโคโมโด เมื่อมีอุณหภูมิที่ต่ำลง พวกมันก็จะเริ่มลดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการออกล่า และหันมาใช้พลังงานสำรองแทนนั่นเอง
- ก้าวแรกบนต้นไม้
ถึงแม้ว่า เจ้ามังกรพวกนี้จะเป็นนักล่าขนาดใหญ่ แต่เจ้ามังกรทุกตัว ล้วนต้องเคยผ่านวัยเด็กมาด้วยกันทั้งนั้น และเพื่อให้รอดคมเขี้ยวของพวกเดียวกัน มังกรหนุ่มสาวที่ยังอ่อนต่อโลกจึงจำเป็นต้องหัดใช้ชีวิตตั้งแต่นาทีแรกที่ออกจากไข่ โดยวิ่งขึ้นต้นไม้ที่ใกล้ที่สุดให้ทันเวลา และต้องใช้เวลาถึง 2-3 ปีแรกบนที่สูง ไม่อย่างนั้นก็อาจจะโดนบรรดาเหล่ามังกรรุ่นใหญ่ที่ยืนรออาหารมื้อง่ายๆ มาคาบไปกินซะก่อนนั่นเอง
- นักแกะรอยที่มีความอดทนอันเป็นเลิศ
แน่นอนว่า เหยื่อของเจ้ามังกรพวกนี้ไม่ได้ตายทันทีหลังจากที่โดนกัดไป แต่อาจต้องใช้เวลา 2-3 วัน หรือ อาจจะนานเป็นสัปดาห์กว่าเหยื่อของมันจะล้ม ซึ่งระหว่างนั้นเจ้ามังกรพวกนี้จะคอยสะกดรอยตามเหยื่อไปเรื่อยๆ โดยใช้ลิ้นยาวๆ ของมันแกะรอยกลิ่นเหยื่อที่บาดเจ็บ แต่ขณะเดียวกันพวกมันก็สามารถอดทนที่จะไม่กินอะไรเลย เพื่อจะรอฝังเขี้ยวบนร่างไร้วิญญาณของเหยื่อที่มันเดินตามมาตลอดหลายวันนั่นเอง
สรุป
ปัจจุบันมังกรโคโมโดเป็นสัตว์ป่าสงวนของอินโดนีเซีย และเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่อีกด้วย ซึ่งมีขนาดความยาวได้ถึง 10 ฟุตและหนักได้ถึง 90 กิโลกรัม มีน้ำลายเป็นพิษและเป็นสัตว์อันตราย ทำให้รัฐบาลปิดเกาะโคโมโดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าเป็นการชั่วคราวในเดือนมกราคมปี 2020 เพื่อให้นักอนุรักษ์จะเข้าไปตรวจเช็คแหล่งอาหารของมังกรโคโมโด อนุรักษ์พืชพรรณหายาก และสำรวจสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ